วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555

ประวัติกีฬาแบดมินตัน

ประวัติกีฬาแบดมินตัน



ประวัติของกีฬาแบดมินตันบันทึกได้แน่นอนในปี พ.ศ. 2413 ปรากฏว่ามีการเล่นกีฬาลูกขนไก่เกิดขึ้นที่เมือง 'ปูนา (Poona) ในประเทศอินเดีย เป็นเมืองเล็กๆ ห่างจากเมืองบอมเปย์ประมาณ 50 ไมล์ โดยได้รวมการเล่นสองอย่างเข้าด้วยกันคือ การเล่นปูนาของประเทศอินเดีย และการเล่นไม้ตีกับลูกขนไก่ (Battledore Shuttle Cock) ของยุโรป ในระยะแรกๆ การเล่นจะเล่นกันเพียงแต่ในหมู่นายทหารของกองทัพ และสมาชิกชนชั้นสูงของอินเดีย จนกระทั่งมีนายทหารอังกฤษที่ไปประจำการอยู่ที่เมืองปูนา นำการเล่นตีลูกขนไก่นี้กลับไปอังกฤษ และเล่นกันอย่างกว้างขวาง ณ คฤหาสน์แบดมินตัน (Badminton House) ของดยุคแห่งบิวฟอร์ด ที่กล๊อสเตอร์เชอร์ ในปี พ.ศ. 2416 เกมกีฬาตีลูกขนไก่เลยถูกเรียกว่า แบดมินตัน ตามชื่อคฤหาสน์ของดยุคแห่งบิวฟอร์ดตั้งแต่นั้นมา


Badminton House


กีฬาแบดมินตันเริ่มแพร่หลายในประเทศแถบภาคพื้นยุโรป เพราะเป็นเกมที่คล้ายเทนนิส แต่สามารถเล่นได้ภายในตัวตึก โดยไม่ต้องกังวลต่อลมหรือหิมะในฤดูหนาว ชาวยุโรปที่อพยพไปสู่ทวีปอเมริกา ได้นำกีฬาแบดมินตันไปเผยแพร่ รวมทั้งประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชียและออสเตรเลียที่อยู่ภายใต้อาณานิคมของอังกฤษ เนเธอร์แลนด์ ต่างนำเกมแบดมินตันไปเล่นยังประเทศของตนอย่างแพร่หลาย เกมกีฬาแบดมินตันจึงกระจายไปสู่ส่วนต่างๆ ของโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย

การเล่นแบดมินตันในระยะแรกๆ มิได้มีกฎเกณฑ์ แต่เป็นเพียงตีโต้ลูกกันไปมาไม่ให้ลูกตกพื้นเท่านั้น เส้นแบ่งแดนก็ใช้ตาข่ายผูกโยงระหว่างต้นไม้สองต้นไม่ได้คำนึงถึงเรื่องต่ำ สูง เล่นกันข้างละไม่น้อยกว่า 4 คน ส่วนมาจะเล่นทีมละ 6 ถึง 9 คน ผู้เล่นแต่งตัวตามสบาย สุภาพสตรีสวมกระโปรงยาวทั้งชุด ใส่หมวกติดผ้าลายลูกไม้ สุภาพบุรุษแต่งสากลผูกโบว์ไทด์ เพราะกีฬาแบดมินตันได้รับความนิยมแพร่หลายออกไปตามบ้านข้าราชการ พ่อค้า คหบดี และประชาชน
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2436 ได้มีการจัดตั้งสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศอังกฤษขึ้น ซึ่งนับเป็นสมาคมแบดมินตันแห่งแรกของโลก มีการจัดแข่งขันแบดมินตันชิงชนะเลิศแห่งประเทศอังกฤษ หรือที่เรียกกันว่าออลอิงแลนด์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2432 เป็นต้นมา ได้ตั้งกฎเกณฑ์ของสนามมาตรฐานขึ้นคือ ขนาดกว้าง 22 ฟุต ยาว 45 ฟุต (22 x 45) เป็นสนามขนาดมาตรฐานประเภทคู่ที่ใช้ในปัจจุบัน ตั้งแต่นั้นมาการปรับปรุงดัดแปลงในเรื่องอุปกรณการเล่นได้กระทำให้ดีขึ้น เป็นลำดับ ต่อมาได้รับความนิยมแพร่หลายไปทั่วโลก ประเทศในเอเซียอาคเนย์ที่มีการเล่นกีฬาแบดมินตันและได้รับความนิยมสูงสุดคือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และประเทศไทย นอกจากประเทศอังกฤษแล้วการเล่นที่น่าดูมีขึ้นที่ประเทศแคนาดาและเดนมาร์ก ด้วยเหตุผลที่ควรสนใจอย่างกว้างขวางทั่วโลกในกีฬาประเภทนี้ การแข่งขันระหว่างประเทศจึงได้จัดให้มีขึ้นในปี พ.ศ. 2445 และตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมา จำนวนประเทศที่เข้าร่วมแข่งขันกีฬาแบดมินตันระหว่างประเทศมีมากว่า 31 ประเทศ



การเล่นแบดมินตันในสมัยวิคตอเรีย

แบดมินตันได้กลายเป็นเกมกีฬาที่เล่นกันระหว่างชาติ โดยมีการยกทีมข้ามประเทศเพื่อแข่งขันระหว่างชาติในทวีปยุโรป ในปี พ.ศ. 2468 กลุ่มนักกีฬาของประเทศอังกฤษได้แข่งขันกับกลุ่มนักกีฬาประเทศแคนาดา ห้าปีหลังจากนั้นพบว่าประเทศแคนาดามีสโมสรสำหรับฝึกแบดมินตันมาตฐานแทบทุก เมือง

ในปี พ.ศ. 2477 สมาคมแบดมินตันของประเทศอังกฤษเป็นผู้นำในการก่อตั้งสหพันธ์แบดมินตัน ระหว่างประเทศ โดยมีชาติต่างๆ อีก 8 ชาติคือ แคนาดา เดนมาร์ก อังกฤษ ฝรั่งเศส ไอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ สก๊อตแลนด์ และเวลล์ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงลอนดอน ปัจจุบันมีประเทศที่อยู่ในเครือสมาชิกกว่า 60 ประเทศที่ขึ้นต่อสหพันธ์แบดมินตันระหว่างประเทศ (I.B.F.) สหพันธ์มีบทบาทสำคัญในการกำหนดและควบคุมกติการะเบียบข้อบังคับต่างๆ ของการแข่งขันกีฬาแบดมินตันทั่วโลก

ในปี พ.ศ. 2482 Sir George Thomas นักแบดมินตันอาวุโสชาวอังกฤษเป็นผู้มอบถ้วยทองราคา 5,000 ปอนด์ เพื่อมอบเป็นรางวัลให้แก่ผู้ชนะเลิศประเภทชายในการแข่งขันแบดมินตันระหว่าง ประเทศ ซึ่งสหพันธ์แบดมินตันได้รับไว้และดำเนินการตามประสงค์นี้ แม้ว่าตามทางการจะเรียกว่า การแข่งขันชิงถ้วยชนะเลิศแบดมินตันระหว่างประเทศ แต่นิยมเรียกกันว่า โธมัสคัพ (Thomas Cup) การแข่งขันจะจัดขึ้นทุกๆ 3 ปี โดยสหพันธ์ได้แบ่งเขตการแข่งขันของชาติสมาชิกออกเป็น
โซน คือ 1. โซนยุโรป 2. โซนอเมริกา 3. โซนเอเชีย 4. โซนออสเตรเลเซีย (เดิมเรียกว่าโซนออสเตรเลีย)

วิธีการแข่งขันจะแข่งขันชิงชนะเลิศภายในแต่ละโซนขึ้นก่อน แล้วให้ผู้ชนะเลิศแต่ละโซนไปแข่งขันรอบอินเตอร์โซนเพื่อให้ผู้ชนะเลิศทั้ง 4 โซนไปแข่งขันชิงชนะเลิศกับทีมของชาติที่ครอบครองดถ้วยโธมัสคัพอยู่ ซึ่งได้รับเกียรติไม่ต้องแข่งขันในรอบแรกและรอบอินเตอร์โซน ชุดที่เข้าแข่งขันประกอบด้วยผู้เล่นอย่างน้อย 4 คน การที่จะชนะเลิศนั้นจะตัดสินโดยการรวมผลการแข่งขันของประเภทชายเดี่ยว 5 คุ่ และประเภทชายคู่ 4 คู่ รวม 9 คู่ และใช้เวลาการแข่งขัน 2 วัน การแข่งขันชิงถ้วยโธมัสคัพครั้งแรก จัดให้มีขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2491-2492

ต่อมาในการแข่งขันแบดมินตันโธมัสคัพ ครั้งที่ 8 ปีพ.ศ. 2512-2513 สหพันธ์ได้เปลี่ยนแปลงวิธีการแข่งขันเล็กน้อย โดยให้ชาติที่ครอบครองถ้วยอยู่นั้นเข้าร่วมแข่งขันในรอบอินเตอร์โซนด้วย โดยวิธีการจับสลากแล้วแบ่งออกเป็น 2 สาย ผู้ชนะเลิศแต่ละสายจะได้เข้าแข่งขันชิงชนะเลิศโธมัสคัพรอบสุดท้ายต่อไป สาเหตุที่สหพันธ์เปลี่ยนแปลงการแข่งขันใหม่นี้ เนื่องจากมีบางประเทศที่ชนะเลิศได้ครอบครองถ้วยโธมัสคัพไม่รักษาเกียรติที่ ได้รับจากสหพันธ์ไว้ โดยพยายามใช้ชั้นเชิงที่ไม่ขาวสะอาดรักษาถ้วยโธมัสคัพไว้ครั้งแล้วครั้งเล่า สหพันธ์จึงต้องเปลี่ยนข้อบังคับให้ชาติที่ครอบครองถ้วยอยู่นั้นลงแข่งขันใน รอบอินเตอร์โซนดังกล่าวด้วย

กีฬาแบดมินตันได้แพร่หลายขึ้น แม้กระทั่งในกลุ่มประเทศสังคมนิยมก็ได้มีการเล่นเบดมินตันอย่างกว้างขวางและ มีการบรรจุแบดมินตันเข้าไว้ในการแข่งขันเอเชียนเกมส์ เซียพเกมส์ (ซีเกมส์ในปัจจุบัน) การแข่งขันกีฬาของประเทศในเครือจักภพสหราชอาณาจักร รวมทั้งการพิจารณาแบดมินตันเข้าสู่การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ล้วนแต่เป็นเครื่องยืนยันว่า แบดมินตันได้กลายเป็นกีฬาสากลแล้วอย่างแท้จริง

ประวัติผู้ริเริ่มกีฬาแบดมินตัน

จอห์น ลอเรน บอลด์วิน ผู้ริเริ่มกีฬาแบดมินตันขึ้นเป็นครั้งแรกโดยจัดการเล่นที่ คฤหาสน์ แบดมินตัน (Badmintion House) ในปราสาทของท่านดยุค แห่งบิวฟอร์ด ในกลอสเตอร์ชาร์ ประเทศอังกฤษ บอลด์วินมีความคิดเมื่อใดไม่ปรากฏแน่ชัด แต่ว่ากันประมาณ 60 ปีกว่า ของคริสต์ศตวรรษที่แล้ว
บอลด์วิน เกิดเมื่อ พ.ศ. 2352 ได้รับการศึกษาในมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด เขาสนใจกีฬาคริกเกต และละครมาก เขามีความชำนาญในกีฬาหลายชนิด และได้ก่อตั้งสโมสรในกรุงลอนดอน (London) หลายแห่งจนได้ชื่อว่า "ราชาสโมสร" ได้มีนิตยสารฉบับหนึ่งชื่อ "แวนิตี้แฟร์" ได้กล่าวว่า "เป็นเวลากว่าครึ่งศตวรรษทีเดียวที่ชื่อเสียงของเขายิ่งใหญ่ในวงการสังคม สโมสร ซึ่งทุกคนเชื่อฟังโดยความเคารพ และเขาเก่งไม่มีใครเท่าเทียมได้ ในการสร้างข้อบังคับ และเป็นผู้ชี้ขาดเกี่ยวกับปัญหาทั่วไป และกำลังอยู่ระหว่างปรับปรุงข้อมูลต่างๆจากลักษณะดังกล่าวนี้ เราจะคิดไม่ได้หรือว่า เขาเป็นผู้วางกฎข้อบังคับกีฬาแบดมินตันขึ้นเป็นครั้งแรกสุดถึงแม้ว่าจะไม่ ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรก็ตาม"
แวนิตี้แฟร์ บอกให้ทราบว่า "เขาเป็นสหายคนสำคัญของท่านดยุคแห่งบิวฟอร์ด" ชีวิตในระยะหลังบอลด์วินได้ไปอาศัยอยู่ใกล้ๆกับวิหาร Tintern Abbey ห่างจากคฤหาสน์แบดมินตันไปทางตะวันตกประมาณ 32 กิโลเมตร เมื่ออยู่ที่นั่นเขาได้รับขนานนามว่า ท่านบิดาแห่งทินเทิน ขณะนั้นเขาแก่ลงมาก ความชราก็ไม่ได้ทำให้เขาลดหย่อนงานอันเป็นที่ยอมรับกันเลย








แหล่งที่มา:http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/แบดมินตัน




วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

กีฬาแบดมินตันในประเทศไทย


กีฬาแบดมินตันในประเทศไทย


การเล่นแบดมินตันได้เข้ามาสู่ประเทศไทยในราวปี พ.ศ. 2456 โดยเริ่มเล่นกีฬาแบดมินตันแบบมีตาข่าย โดยพระยานิพัทยกุลพงษ์ ได้สร้างสนามขึ้นที่บ้าน ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองสมเด็จเจ้าพระยาธนบุรี แล้วนิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายออกไป ส่วนมากเล่นกันตามบ้านผู้ดีมีตระกูล วังเจ้านาย และในราชสำนัก
การเล่นแบดมินตันครั้งนั้น นิยมเล่นข้างละ 3 คนกันมาก ประมาณปี พ.ศ. 2462 สโมสรกลาโหมได้เป็นผู้จัดแข่งขันแบดมินตันทั่วไปขึ้นเป็นครั้งแรก โดยจัดการแข่งขัน 3 ประเภทได้แก่ประเภทเดี่ยว ประเภทคู่ และประเภทสามคน ปรากฏว่าทีมแบดมินตันบางขวางนนทบุรี (โรงเรียนราชวิทยาลัยบางขวางนนทบุรี) ชนะเลิศทุกประเภท นอกจากนี้มีนักกีฬาแบดมินตันฝีมือดีเดินทางไปแข่งขันยังประเทศใกล้เคียงอยู่ บ่อยๆ
ต่อมาปี พ.ศ. 2494 พระยาจินดารักษ์ได้ก่อตั้งขึ้นเป็นสมาคมชื่อว่า "สมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทย" เมื่อแรกตั้งมีอยู่ 7 สโมสร คือ สโมสรสมานมิตร สโมสรบางกอก สโมสรนิวบอย สโมสรยูนิตี้ สโมสร ส.ธรรมภักดี สโมสรสิงห์อุดม และสโมสรศิริบำเพ็ญบุญ ซึ่งในปัจจุบันนี้เหลือเป็นสโมสรมาชิกของสมาคมอยู่เพียง 2 สโมสร คือสโมสรนิวบอย และสโมสรยูนิตี้เท่านั้น และในปีเดียวกัน สมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยก็ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสหพันธ์แบดมินตัน นานาชาติด้วย สมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยมีนักกีฬาแบดมินตันที่มีฝีมือดีอยู่มาก และจากการที่ได้เข้าแข่งขันในรายการต่างๆของโลกได้สร้างชื่อเสียงให้กับ ประเทศไทยเป็นอย่างมาก ทั้งโธมัสคัพ อูเบอร์คัพ และการแข่งขันออลอิงแลนด์ ซึ่งวงการแบดมินตันถือว่าเป็นการแข่งขันชิงชนะเลิศของโลกประเภทรายบุคคล ซึ่งนักกีฬาของประเทศไทยก็เคยได้ตำแหน่งรองชนะเลิศทั้งประเภทชายเดี่ยวและ ชายคู่มาแล้ว
วงการแบดมินตันของไทยยกย่อง นายประวัติ ปัตตพงศ์ (หลวงธรรมนูญวุฒิกร) เป็นบิดาแห่งวงการแบดมินตันของประเทศไทย
ปัจจุบันกีฬาแบดมินตันในประเทศไทยเป็นที่นิยมกันมาก เล่นกันทั่วประเทศทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้หญิง ผู้ชาย มีการเรียนการสอนในโรงเรียนในสถาบันอุดมศึกษา มีสนามแบดมินตันอยู่ทั่วประเทศ มีอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน ซึ่งผลิตได้เอง มีการอบรมฝึกสอนกีฬาแบดมินตันโดยองค์กรที่มีมาตรฐาน มีผู้ฝึกสอนทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ทำงานเต็มเวลา มีกรรมการผู้ตัดสินที่เป็นมาตรฐาน มีรายการแข่งขันภายในประเทศที่จัดขึ้นในแต่ละปีไม่น้อยกว่า 20 รายการ มีนักกีฬาที่มีความสามารถติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก ทั้งชายและหญิง ภายใต้การทำงานของสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ที่จริงจัง และเข้มแข็ง เชื่อว่าอีกไม่นานประเทศไทยคงจะก้าวหน้าไปเป็นผู้นำในกีฬาแบดมินตันของโลกใน โอกาสข้างหน้าอย่างแน่นอน






แหล่งที่มา: http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/

วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

สนามแข่งขัน





สนามจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ประกอบด้วยเส้นกว้างขนาด 40 มิลลิเมตร ตามภาพ
เส้นทุกเส้นต้องเด่นชัด และควรทาสีขาวหรือสีเหลือง
เสาตาข่ายจะต้องสูง 1.55 เมตร จากพื้นสนาม และตั้งตรงเมื่อขึงตาข่ายให้ตึง
ตามมาตรฐานกำหนด โดยที่จะต้องไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดของเสายื่นเข้ามาในสนาม (เฉพาะรายการที่รับรองโดย IBF จะต้องใช้ระเบียบจนกระทั่ง 1 สิงหาคม 2547 ทุกรายการที่แข่งขันจะต้องยึดตามระเบียบนี้)
ตาข่ายจะต้องถักด้วยเส้นด้ายสีเข้มและมีขนาดตากว้างไม่น้อยกว่า 15 มิลลิเมตร และไม่เกิน 20 มิลลิเมตร
ตาข่ายต้องมีความกว้าง 760 มิลลิเมตร และความยาวอย่างน้อย 6.1 เมตร   ขอบบนของตาข่าย ต้องมีแถบผ้าสีขาวพับสองขนาดกว้าง 75 มิลลิเมตร ทับบนเชือกหรือลวดที่ร้อยตลอดแถบผ้าสีขาว



กติกาเบื้องต้น





การเสี่ยง 
1. ก่อนเริ่มการเล่น คู่ต่อสู้ทั้งสองฝ่ายจะทำการเสี่ยง ฝ่ายี่ชนะการเสี่ยงมีสิทธิ์เลือกตามกติกาข้อ1.1 หรือ 1.2
1.1  ส่งลูกหรือรับลูกก่อน
1.2  เลือกข้างใดข้างหนึ่ง
2.  ฝ่ายที่แพ้การเสี่ยงมีสิทธิ์ในที่เหลือจากการเลือก

การนับแต้ม
1.  คู่ต่อสู้ทั้งสองฝ่าย จะต้องเล่นเอาชนะให้ได้มากที่สุดใน 3 เกม เว้นแต่จะตกลงกัน
2.  ฝ่ายส่งลูกเท่านั้นทำแต้มได้
3.  ในประเภทคู่และ ประเภทชายเดี่ยว ฝ่ายที่ได้ 15 แต้ม ก่อนเป็นฝ่ายชนะในเกมนั้น
4.  ในประเภทหญิงเดี่ยว ฝ่ายที่ได้ 13 แต้ม ก่อนเป็นฝ่ายชนะในเกมนั้น
5.  ถ้าได้ 13แต้มเท่ากัน หรือ 14เท่ากัน(9 เท่ากันหรือ10เท่ากันในประเภทหญิงเดี่ยว)ฝ่ายที่ได้แต้ม 13 หรือ 14(9 หรือ 10) ก่อมมีสิทธิ์เลือก "เล่นต่อ" หรือ"ไม่เล่นต่อ"ในเกมนั้น
    5.1  ฝ่ายที่ได้แต้มก่อน มีสิทธิ์เลือก และต้องเลือกก่อนการส่งลูกต่อไป
    5.2  ฝ่ายที่กล่าวมีโอกาศเลือก"เล่นต่อเมื่อได้ 14 แต้มเท่ากัน ( 10 เท่าในประเภทหญิงเดี่ยว ) ถึงแม้จะได้ปฏิเสธ "ไม่เล่นต่อ" มาก่อนโดยฝ่ายนั้นหรืออีกฝ่ายหนึ่งได้แต้ม 13 แต้มเท่ากัน( 9 เท่ากันในประเภทหญิงเดี่ยว)
6.  ถ้ามีการ"เล่นตอ่" ในเกมนั้น ต้องขานคะแนนว่า"ศูนย์เท่า" และฝ่ายที่ได้แต้มตามที่กำหนดในการเล่ยต่อก่อนเป็นฝ่ายชนะ
     6.1  14 แต้มเท่ากันเล่นต่อ 3แต้ม
     6.2  10 แต้มเท่ากันเล่นต่อ 2 แต้ม
7.  ฝ่ายที่ชนะ จะเป็นฝ่ายส่งลูกก่อนในเกมต่อไป

การเปลี่ยนข้าง
1.  ผู้เล่นจะเปลี่ยนข้าง
1.1  หล้งจากเกมที่ 1 สิ้นสุดลง
1.2  ก่อนเริ่มเล่นเกมที่ 3 (ถ้ามี)
1.3  ในกามที่ 3 หรือในการแข่งขันเกมเดียว เมื่อฝ่ายใดได้แต้มก่อน 6 แต้ม สำหรับเกม 11 แต้ม 8 แต้มสำหรับเกม 15 แต้ม
2.  เมื่อผู้เล่นลืมเปลี่ยนข้างตามที่ระบุไว้ในกติกา ผู้เล่นต้องเปลี่ยนข้างทันทีที่รู้ตัว และให้นับแต้มต่อจากที่ได้ในขณะนั้น


การส่งลูก
1.  ในการส่งลูกที่ถูกวิธี
1.1  ทั้งสองฝ่ายจะต้องไม่พยายามถ่วงเวลาให้เกิดความล่าช้าในการส่งลูก
1.2  ผู้ส่งและผู้รับลูก จะต้องยืนในสนามส่งลูกทแยงมุมตรงข้ามโดยเท้าไม่สัมผัสเส้นเขตสนามส่งลูก บางส่วนของเท้าทั้งสองของผู้ส่งลูกและผู้รับลูกจะต้องสัมผัสพื้นสนามในท่านิ่งจนกว่าจะส่งลูกแล้ง
1.3  ผู้ส่งลูกต้องส่งโดยตีฐานของลูก ขณะที่ทุกส่วนของลูกอยู่ต่ำกว่าเอสของผู้ส่งลูก
1.4  ก้านไม้แแบดฯ ของผู้ส่งลูกในขณะตีลูก จะต้องชี้ลงต่ำจนเห็นได้ชัดว่าส่วนหัวทั้งหมดของไม้แบดฯ อยู่ต่ำกว่าทุกส่วนของมือที่จับไม้แบดฯ ของผู้ส่งลูก
1.5  การเคลื่อนไม้แบดฯ ของผู้ส่งลูกไปข้างหน้าต้องต่อเนื่องหลังจากเริ่มการส่งลูกจนการทั่งได้ลูกแล้ว
1.6  ลูกจะมีวิถีพุ่งขึ้นจากไม้แบดฯของผู้ส่งลูกข้ามตาข่ายและถ้าปราศจากการสกัดกั้น ลูกจะตกลงบนพื้นสานมส่งลูกของผู้รับลูก
2.  เมื่อผู้เล่นอยู่ในท่าที่พร้อมแล้ว ทันทีที่หักไม้แบดฯของผู้ส่งลูกขยับไปข้างหน้า
3.  ผู้ส่งลูกเริ่มส่งลูไม่ได้ถ้าผู้รับลูกยังไม่พร้อม แต่จะถือว่า ผู้รับลูกพร้อมแล้วถ้าพยายามตีลูที่ส่งมากลับ
4.  การส่งลูกได้ส่งแล้วหลังจากที่เริ่มส่ง ลูกถูกตีจากไม้แบดฯของผู้ส่งลูกหรือลูกตกลงพื้น
5.  ในประเภทคู่ คู่ขาของผู้ส่งลูกและผู้รับลูกจะยืนอยู่ ณ ที่ใดก็ได้โดยไม่บังผู้ส่งลูกหรือผู้รับรับลูก

การทำผิดในสนามส่งลูก
1.  การทำผิดในสนามวส่งลูกเกิดขึ้นเมื่อผู้เล่น
1.1  ส่งลูกก่อนถึงเวลตนเป็นผู้ส่ง
1.2  ส่งลูกจากสนามส่งลูกที่ไม่ถูต้อง
1.3  ยืนในสนามรับลูกที่ไม่ถูกต้องโดยอยู่ในท่าพร้อมที่จะรับลูกที่ส่งมา
2.  เมื่อมีการทำผิดเกิดขึ้นในสนามส่งลูก ให้ปฏิบติดังนี้
2.1  ถ้าพบการทำผิดเกิดขึ้นก่อนการส่งลูกครั้งต่อไปให้ "เอาใหม่" เว้นเสียแต่ว่ามีฝ่ายทำผิดเพียงฝ่ายเดียว
และแพ้ในการตีโต้ลูกด้วย ในกรณีดังกล่าว ไม่มีการแก้ไข
2.2  ถ้าไม่พบการทำผิดเกิดขึ้นก่อนการส่งลูกครั้งต่อไป ไม่ต้องแก้ไข
3.  ถ้ามีการ"เอาใหม่" เพราะมีการทำผิดในสนามส่งลูก ให้เล่นใหม่พร้อมกับแก้ไข
4.  ถ้าไม่มีการแก้ไขเมี่อมีการทำผิดในสนามส่งลูก การเล่นในเกมนั้นคงดำเนินต่อไปโดยไม่มีการเปลี่ยบสนาม
ส่งลูกใหม่ของผู้เล่น(หรือสั่งให้ส่งลูกใหม่ในกรณีเดียวกัน

การเอาใหม่
1.  ให้"เอาใหม่"สำหรับกรณีที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดมาก่อนหรือโดยเหตุบังเอิญ
2.  ถ้าลูกข้ามตาข่ายแล้วไปติดอยู่ในหรือบนตาข่ายให้"เอาใหม่" ยกเว้นระหว่างการส่งลูก
3.  ถ้าในระหว่างการส่งลูก ผู้รับลูกและผู้ส่งลูกทำ"เสีย" พร้อมกัน ให้ "เอาใหม่"
4.  ถ้าส่งลูก ส่งลูกโดยที่ผู้รับลูกยังไม่พร้อมให้"เอาใหม่"
5.   ถ้าในระหว่างการส่งลูก ลูกขนไก่แตกออกเป็นส่วนๆ และฐานแยกออกจากส่วนที่เหลือของลูกโดยสิ้นเชิงให้"เอาใหม่"
6.  เมื่อมีการ"เอาใหม่" เกิดขึ้น การเล่นต่อเนื่องจากการส่งลูกครั้งสุดท้ายถือเป็นโมฆะ และผู้ที่ส่งลูกแล้วจะได้ส่งลูกอีกครั้งหนึ่ง

ลูกไม่อยู่ในการเล่น
1.  ลูกชนตาข่ายแล้วติดอยุ่ที่ตาข่าย หรือค้างอยู่ข้างบนตาข่าย
2.  ลูกชนตาข่ายหรือเสาตาข่ายแล้วตกลงบนพื้นสนามในด้านของผู้ตีลูกแล้วไม่ข้าม
3.  ลูกถูกพื้น
4.  เกิดการ"เสีย" หรือ"เอาใหม่"

การเล่นต่อเนื่อง การทำผิด การลงโทษ
1.  การเล่นต้องต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มส่งลูกครั้งแรกจนสิ้นสุดการเล่นในแมทช์นั้น
2.  อนุญาติให้พักไม่เกิน 5 นาที ระหว่างจบเกมที่ 2 และเริ่มเกมที่ 3 ของทุกแมทช์ในการแข่งขันต่อไปนี้
2.1  การแข่งขันนานาชาติ
2.2  การแข่งขันที่ได้รับอนุมัติรับรองโดยสหพัธ์แบดมินตันนานาชาติ (ไอบีเอฟ)
2.3  การแข่งขันอื่นๆ
3.  เมื่อมีเหตุจำเป็นเกิดขึ้นโดนสุดวิสัยอันมิได้มาจากผู้เล่น กรรมการผู้ตัดสินอาจสั่งให้พักการเล่นชั่วระยะหนึ่งตามที่กรรมการผู้ตัดสินพิจารณาว่าจำเป็น ถ้ามีการพักการเล่นแต้มที่ได้จะอยู่คงเดิมและจะเริ่มเล่นใหม่จากแต้มนั้น
4.  ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น ห้ามมิให้พัการเล่นเพื่อฟื้นคืนกำลัง หรือพักหายเหนื่อยหรือเพื่อรับการสอนหรือคำแนะนำ
5.  ห้ามมิให้ผู้เล่นรับคำแนะนำในระหว่างการเล่น
5.1  ห้ามมิให้ผู้เล่นเดินออกจากสนามโดยไม่ได้รับการยินยอมจากกรรมการผู้ตัดสิน ยกเว้นหลังจากการเล่นในแมทช์สิ้นสุดลง6.  กรรมการผู้ตัดสินมีสิทธ์สั่งให้พักการเล่นชั่วคราวแต่เพียงผู้เดียว
7.  ผู้เล่นจะต้องไม่
7.1  จงใจให้เกิดการพักการเล่น
7.2  จงใจทำให้ความเร็วและวิถีของลูกขนไก่เปลี่ยน
7.3  แสดงกิริยาก้าวร้าว
7.4  ทำความผิดอื่นๆนอกเหือจากกติกา
8.  กรรมการผู้ตัดสินจะต้องดำเนินการกับความผิดที่ได้ระบุไว้ในกติกา โดย
8.1 เตือนผู้ที่ทำผิด
8.2  ตัดสิทธิ์ผู้ทำผิดหากได้รับการเตือนมาก่อน
8.3  ในกรณีที่ทำผิดอย่างชัดเจน หรือเคืองแค้น ให้ตัดสิทธิ์ผู้ทำผิดรายงานให้กรรมการผู้ชี้ขาดทราบทันที กรรมการผู้ชี้ขาดมีอำนาจสั่งให้ผู้ทำผิดออกจากการแข่งขัน
9.  หากไม่มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ชี้ขาด ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบมีอำนาจสั่งให้ผู้ทำผิดออกจากการแข่งขัน



แหล่งที่มา: http// www.thaigoodview.com